โรคปลาคาร์พที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจมีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี สารอาหารไม่เพียงพอ ดูแลไม่ดี หรือไม่ก็การควบคุมทางพันธุกรรมไม่ดี สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถถ่ายโอนไปสู่ตัวอื่นได้เช่นท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อย ปลา Koi ทีท้องผูกหรือทุกข์ทรมานจากอาหารไม่ย่อยมักจะไม่คล่องแคล่ว นอนอยู่ที่ก้นบ่อ และท้องบวม สาเหตุมาจากการให้อาหารไม่สมดุล อาหารไม่ถูกกับปลา หรือให้อาหารมากเกิน ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ จะเติมเกลือแมกนีเซียมซัลเฟต 1 ช้อนชาต่อน้ำ 5 แกลลอน ในถังพยาบาล ควรลดอาหารปลา 3-5 วันจนกว่ามันจะแข็งแรง ให้อาหารสดหรืออาหารแช่แข็งตลอด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นเอาปลากลับลงบ่อ ควรสังเกตดูปลาให้ดี เพราะอาการเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอีก
โรคถุงลม
สังเกตจากการที่ปลาว่ายน้ำได้ไม่เต็มที่ โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ง่าย จากการเสียสมดุลในการว่ายไปข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจหงายท้องเลย โรคนี้เกิดจากท้องผูก การฟกซ้ำในระหว่างสัมผัส การต่อสู้ การผสมพันธุ์หรือจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี สิ่งเหล่านี้แก้โดยการรักษาบริเวณทีฟกซ้ำ แต่ปัญหาคือไม่สามารถตรวจดูแผลทั้งหมดได้ ถ้าสงสัยว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ควรปรับปรุงคุณภาพของน้ำ และรักษาปลาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดจากการท้องผูก ควรเปลี่ยนอาหารปลาและสังเกตดูความเปลี่ยนแปลงเนื้องอกก้อนบวม นูน หรือเนื้องอก ดูเหมือนเม็ดพุพอง หรือหูดสามารถเอาเนื้องอกบางจุดออกได้ เนื้องอกบนเซลล์ผิวที่ถูกย้อมสีเป็นอันตรายถึงตาย และสังเกตได้จากก้อนที่หลัง เนื้องอกที่ตับก็ถูกพบในปลา Koi และก่อให้เกิดอาการท้องบวม พอง เนื้องอกทั้งสองชนิดไม่สามารถรักษาได้
ตาโปน
โรคนี้ทำให้ปลาตาโปนจากเบ้าตา และอาการนี้สังเกตได้ง่าย ปลาที่เป็นโรคมักอยู่ในน้ำที่คุณภาพไม่ดีและมีแรงกดดัน การรักษาอาจต้องใช้เวลาหลายวันถ้าจะพัฒนาคุณภาพของน้ำ บางคนบอกว่าควรงดให้อาหารปลา 2-3 วัน จนกว่าบ่อจะได้รับการแก้ไข
โรคปลาคาร์พที่เกิดจากการติดเชื้อ
โรคติดเชื้อการจะเป็นโรคติดเชื้อได้ก็ต่อเมื่อมันมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต รา ไวรัส และโปรโตซัว และเมื่อมันสามารถแพร่เชื้อไปให้ปลาตัว การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคบวมน้ำหรือโรคไต รู้จักกันในชื่อ “pinecone” สังเกตได้จากท้องบวมและเกล็ดหลุด โรคนี้เป็นสาเหตุให้ตัวบวม เพื่อที่จะสร้างของเหลวในเนื้อเยื่อ โรคบวมน้ำ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียAeromonasc และPseudomonas สาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี หรือไม่ก็ความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ ถ้าโรคบวมน้ำเจริญเต็มที่ ปลา Koiจะอยู่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ โรคนี้เหมือนกับโรคท้องผูกและโรคถุงลมปลา ปลาที่รอดชีวิตจากโรคถุงลม มีแนวโน้มว่าจะเป็นอีกครั้ง เพราะว่าโรคนี้ติดต่อได้ง่าย ทางที่ดีควรย้ายปลาที่เป็นโรคออกไปโรคนี้รักษาไม่หาย ควรย้ายปลาออกมาทันทีและฆ่าทิ้งโดยไม่ให้ทรมาน บางคนคิดจะรักษาให้หายด้วยยาปฏิชีวนะ บางคนแนะว่าให้ผสม Furanance 250มิลลิกรัมต่อน้ำ 1แกลลอน อาบให้ปลา ควรอาบภายใน 1 ชั่วโมง และไม่ควรอาบซ้ำเกิน 3 ครั้ง ภายใน 3 วัน ว่ากันว่าปลารับเอาสารนี้ทางผิว ถ้าไม่เลือกใช้วิธีนี้อาจใช้วิธีอาบน้ำเกลือแบบเก่า ถ้าปลาไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายใน 2-3 วัน ปลาควรถูกฆ่าทิ้ง
แผลเปื่อย (Furunculos หรือ Ulcer Disease)
การติดเชื้อของแบคทีเรียชนิดนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จะแพร่เชื้อไปอย่างรวดเร็ว จะติดเชื้อที่เกล็ดที่ดูเหมือนยเงี่ยง การติดเชื้อนี้แสดงอาการที่รอยกระแทกใต้เกล็ด ต่อมารอยกระแทกจะเริ่มปริออก ทำให้เกิดแผลเปื่อยขณะที่ปลาบางตัวรอดชีวิตจากโรคนี้ รอยแผลเป็นที่เกิดจากการติดเชื้อมักจะสร้างปัญหาสำหรับมันอีก บางทีปลาที่เป็นโรคนี้ควรจะถูกฆ่าทิ้งปลาที่ยังเหลืออยู่ให้รัีกษาด้วยเตตร้าชัยคลินทันที ควรกำจัดอาหารที่เหลือ การรักษาควรใช้เวลา 10 วัน
Ulcers (Hole-in-the Body Disease)
คือโรคติืดเชื้อที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดภายใน และแสดงอาการคือแผลเปื่อยสีแดงขนาดใหญ่ ฝี และสีแดงคล้ำที่ฐานของครีบ เราจะไม่สับสน โรคนี้กับโรคหนอนสมอ เพราะว่าอาการของหนอนสมอจะบวม ในขณะที่โรคนี้จะถูกกินจากภายในการอาบน้ำเกลืออาจจะรุนแรงเกินไป แต่ปลาที่ติดเชื้อควรจะแยกไว้ต่างหากและให้ยารักษาอีกครั้ง ที่ต้องใช้ยา่ปฎิชีวนะ
Mouth Fungus (Columnaris Disease)
มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Flexibacter และแสดงอาการโดยมีตุ่มขาวๆ โตบริเวณรอบปาก นอกจากนั้นยังพบได้ที่เหงือก หลัง และ ครีบ ถ้าปล่อยปละละเลยโดยไม่รักษา โรคนี้จะลุกลามไปทั่วและปลาก็จะตายควรพาไปพบสัตวแพทย์ แต่ควรแยกปลาและรักษาด้วยน้ำเกลือก่อน บางคนเริ่มการรักษาด้วย่น้ำเกลือ และต่อด้วยการควบคุมแบคทีเรียที่สำคัญ
โรคครีบติดเชื้อแบคทีเรียหรือหางเน่า
การต่อสู้กันระหว่างปลา อาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ครีบหรือหาง บริืเวณที่เจ็บง่ายต่อการติดเชื้อของแบคทีเรีย และโรคนี้อาจเกิดจากคุณภาพน้ำไม่ดี มันง่ายที่จะป้องกันขณะที่ครีบมีบางส่วนหลุดไปและกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อโรคแสดงอาการรุนแรง ครีบจะค่อยๆ กร่อนไปมียาปฎิชีวนะที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ควรแช่ปลาลงในอ่างที่ผสมเกลือโปแตสเซียม 8 ผลึกต่อน้ำ 3 ส่วน4 แกลลอนทิ้งไว้ 5 นาที หลังจากนั้นเอาบริเวณที่ิดเชื้อของหางและครีบออก และทาหางด้วยmethylene blue หรือยาแดง การรักษานี้ค่อนข้างรุนแรงและควรกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
โรคเหงือกติดเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุมาจากแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ โรคนี้เกี่ยวกับการอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก และคุณภาพของน้ำไม่ดี น้ำอุณหภูมิสูงก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้ อาการของโรคคือ ความเสียหายของเส้นใยที่เหงือก เยื่อบุเมือกที่ผิว และนิสัยการหายใจที่ผิวน้ำ อาจแก้ไขได้โดยลดจำนวนประชากรปลาในบ่อและัพัฒนาคุณภาพน้ำ การรักษาแบบแอนตี้แบคทีเรียอาจมีประโยชน์แต่ทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขี้นได้
วัณโรคปลา
สาเหตุมาจากแบคทีเรีย Mycobacteria และเป็นสาเหตุให้เกิดบาดแผลที่เรีกยว่าgranuloma ที่อวัยวะภายใน เพราะว่าเนื้องอกอยู่ภายในและไม่แสดงอาการ โรคนี้ ตาจะบวมแดงและช่องท้องก็จะบวม พอง การวินิจฉัยสามารถรับรองก็ต่อเมื่อตรวจภายในหลังปลาตาย ไม่มีการรักษาสำหรับโรคนี้
การติดเชื้อรา (Fungus)
สาเหตุจากเชื้อราในสกุล Saprolegnia ที่มักเป็นอันตรายต่อปลาเขตร้อนเชื้อรานี้จะแสดงอาการไม่ชัดเจน แต่มันจะขาวและง่ายต่อการสังเกตกว่าโรค velvet สาเหตุเบื้องต้นของโรคนี้เกิดจากความเสียหายของเยื่อบุเมือกบนผิวที่เชื้อรามาเกาะและเจริญเติบโต ความบาดเจ็บสภาพแวดล้อม และปรสิตก็สามารถทำลายการป้องกันของเยื่อบุผิวได้การรักษาการทาmethylene blue ในบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นปลาจะถูกนำไปแช่น้ำเกลือ 10 วัน และอาจต้องไปพบสัตวแพทย์
Body Slim Fungus
โรคนี้สามารถฆ่าปลาได้ภายใน 2 วัน ถ้าไม่รักษาให้ทันเวลาเยื่อบุเมือกที่หุ้มจะเป็นสีขาวและเริ่มหลุดออก เหมือนกับว่าปลากำลังลอกคราบ ครีบจะค่อยๆถูกปกคลุม ท้ายสุดตัวก็ลายแดงด้วยอาการระคายเคียงการอาบน้ำเกลืออุ่นๆ จะเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว เพราะจะช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อรา การไปพบสัตวแพทยเป็นวิธีที่แนะนำใหปฎิบัติ
Branchiomycosis
การติดเชื้อชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อเหงือก ทำให้เกิดการกดระบบหายใจและเลือดออกที่เหงือก บริเวณของเนื้อเยื่อเหงือกที่ตายบ่งชี้ให้เห็นถึงโรคนี้ และที่โชคร้ายคือ ยังไม่มีการรักษาสำหรับโรคนี้ และปลาที่เป็นโรคก็จะตายภายในเวลาไม่กี่วันควรแยกปลาไว้ต่างหาก ถ้า่สงสัยว่าติดเชื้อbranchiomycosis การติดเชื้อไวรัส
ไวรัสปลาคาร์พ
เชื้อไวรัส KHV (Koi Herpes Virus) เชื้อไวรัสชนิดนี้ จะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของปลา จึงทำให้เกิดการติดเชื้อจาก แบคทีเรียได้ง่าย มีตุ่มพุพองเกิดขึ้นที่ตัวปลา โรคนี้ได้ระบาด ครั้งใหญ่ในจังหวัด อิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น การทำให้ปลาคาร์พ ในประเทศญี่ปุ่นตายไปถึง 1,124 ตัน ธุรกิจเลี้ยงปลาคาร์พเสียหายคิดเป็นเงินสูงถึง 280 ล้านเยน เมื่อปี 2546 โรคร้ายสายพันธุ์นี้ เป็นหนึ่งในโรคที่ OIE องค์การระบาดสัตว์ ระหว่างประเทศ สั่งให้ประเทศ สมาชิกควบคุม อย่างเข้มงวด กรมประมงไทย ออกประกาศ สั่งห้ามนำปลาคาร์พจาก ญี่ปุ่นเข้าประเทศไทย เมื่อกลางเดือน พฤศจิกายน 2546 และต่อมาได้มีการยกเลิก คำสั่งห้ามนำเข้าปลาคาร์พ จากญี่ปุ่น ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เพราะสถานการณ์ดีขึ้น และมีการเฝ้าระวัง แต่การระบาดของโรค KHV ที่เกิดขึ้น เมื่อเดือนที่แล้วและเป็นข่าวที่พบจากฟาร์มปลา ในบ้านเรา อาจมาจากการลักลอบ นำเข้าปลาคาร์พสวยงาม จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำเข้ามาประกวด ปลาสายงาม และเชื้อได้แพร่สู่ปลาตัวอื่นๆ ที่เข้าร่วมประกวด ความน่ากลัว ก็ตรงที่มันไม่แสดงอาการ นี่แหลมันจะกลาย เป็นตัวพาหะแพร่ไปสู่ปลาตัวอื่น และรอโอกาสจน เมื่ออุณหภูมิน้ำลดต่ำลง สภาพน้ำผิดปกติ เชื้อจึงกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้ง โรคนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับปลาแฟนซีคาร์พอย่างเดียว ปลาในตระกูล ปลาคาร์พ ปลาไน, ปลาจีน, ปลาตะเพียน,ปลากระโห้, ปลาซ้ง, ปลายี่สก, ปลาหางไหม้, ปลากา ฯลฯ เป็นได้ทั้งนั้น ถ้าเป็นปลาในตระกูล ปลาคาร์พ สามารถป่วยเป็นโรค KHV ได้ทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น